การประชุม
เรื่อง “โปรแกรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (B 1-3) และการสร้างกลุ่มวิจัยด้านประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหาร”
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2553
ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา
หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นสินค้าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ ทั้งบริบทของการสร้างรายได้ในมุมของการจ้างงานและ การส่งออก และบริบทด้านความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชน ในสองสามปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมี GDP ที่ได้จากมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารประมาณ 10-13% และประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารลำดับต้นๆของโลก โดยมีสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกที่สำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ ผักและผลไม้เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งได้พัฒนาศักยภาพการผลิตและต้นทุนที่ต่ำกว่า และปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลกซี่งเป็นผลทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลง เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถยืนหยัดอยู่ในเวทีการค้าผลิตภัณฑ์อาหารได้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตได้ต้องมีคุณภาพที่สูง ปลอดภัย และได้มาตรฐานสุขอนามัย และวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพอาหารให้มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานที่ยอมรับได้เป็นสากลนั้น คืองานวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) และความสามารถในการจัดทำการประเมินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ซึ่งเป็นข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาอ้างอิงในการเจรจาต่อรองการค้า และการกำหนดมาตรฐานในระดับสากลได้ นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงยังเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิจัยมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อกำหนดมาตรฐานอาหารที่ยังไม่มีมาตรฐานรองรับหรือปรับปรุงมาตรฐานอาหารที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
การจัดประชุมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านการประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร และพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารจัดการระบบความเสี่ยงอาหารที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อประชาสัมพันธ์การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยของโปรแกรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการด้านการประเมินความเสี่ยงจากจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้ตามหลักของสากลและรู้จักการใช้เทคนิค/เครื่องที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้
3. เพื่อส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารปลอดภัยและการประเมินความเสี่ยงในอาหาร โดยเน้นเฉพาะการสร้างเครือข่ายกลุ่มนักวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
นักวิจัยและนักวิชาการจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คณาจารย์ที่ดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือสนใจด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหาร
รายละเอียดโปรแกรม
09:00 - 09:10 กล่าวเปิดการประชุม
09:10 - 09:30 โปรแกรมการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (B 1-3)
ภายใต้คลัสเตอร์อาหารและการเกษตร / CPMO สวทช.
โดย ดร. รุจ วัลยะเสวี เจ้าภาพโปรแกรม
ขอบเขตของโปรแกรม
1. ความปลอดภัยอาหาร : การประเมินความเสี่ยง(จุลชีววิทยาและเคมี) ชุดตรวจวินิจฉัย และการตรวจสอบย้อนกลับ
2. การพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ (Process and Product Development)
09:30 - 10:30 การประเมินความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยา: case studies of salmonella in broiler meat
โดย ผศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10:30 - 10:45 พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 - 11:15 การประเมินความเสี่ยงด้านเคมี: case studies of aflatoxin in food products
โดย ผศ.ดร.สุพัตรา ปรศุพัฒนา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11.15 - 12.00 ซักถามข้อสงสัย / แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
เริ่มการประชุมโต๊ะกลมสร้างกลุ่มเครือข่ายนักวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหาร
- กลุ่มนักวิจัยการประเมินความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยา
- กลุ่มนักวิจัยการประเมินความเสี่ยงด้านเคมี
12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 - 15.00 การประชุมโต๊ะกลมสร้างกลุ่มเครือข่ายนักวิจัยการประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหาร (ต่อ)
15.00 - 15.30 สรุปนำเสนอผลการประชุมโต๊ะกลม และ ปิดประชุม