GUIDELINES FOR RISK ANALYSIS OF
FOODBORNE ANTIMICROBIAL RESISTANCE
แนวทางในการวิเคราะห์ความเสี่ยงการดื้อยาของจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษ
(CAC/GL 77- 2011)
เรียบเรียงโดย
รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
Scope
1.กำหนดแนวทางโดยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดกระบวนการและวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและได้นำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้กับการดื้อยาจากอาหาร (foodborne AMR) ที่เชื่อมโยงกับการใช้สารต้านจุลชีพในการผลิตอาหาร (non‑human use)
2.ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับจุลินทรีย์และส่วนดื้อยา (AMR microorganisms and determinants)
Framework for Foodborne AMR Risk anaslysis
ข่ายงานสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงดื้อยาจากอาหาร
PRELIMINARY FOODBORNE AMR RISK MANAGEMENT ACTIVITIES
หาขอบข่าย “ประเด็นความปลอดภัยอาหาร (Food safety issue)” ซึ่งประกอบด้วย combination ของ
1.อันตราย คือ จุลินทรีย์และส่วนดื้อยา (AMR microorganism and determinant)
2.สารต้านจุลชีพ (Antimicrobial agent)
3.อาหาร (Food commodity)
Identification of an AMR food safety issue
ระบุ “ประเด็นความปลอดภัยอาหาร (Food safety issue)” ต่างๆ ที่เป็นไปได้
Ranking of the food safety issues and setting priorities for risk assessment and management
ลำดับความสำคัญหรือความรีบด่วนของ “ประเด็นความปลอดภัยอาหาร (Food safety issue)” ต่างๆ ที่เป็นไปได้
Establishment of preliminary risk management goals
ตัดสินใจสำหรับทุก “ประเด็นความปลอดภัยอาหาร (Food safety issue)” ที่เป็นไปได้ เช่น
1.ประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)
ก.ต้องการ
ข.ไม่ต้องการ
2.ทางเลือกการจัดการความเสี่ยง (Risk management options : RMOs)
ก.ไม่ต้องการ (no action)
ข.ต้องการดำเนินการทันที
ค.ต้องการดำเนินการหลังการประเมินความเสี่ยง
Establishment of a risk assessment policy
พัฒนานโยบายการประเมินความเสี่ยงจากการหารือกับนักประเมินความเสี่ยงและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
Commission a foodborne AMR risk assessment
มอบหมายการประเมินความเสี่ยงดื้อยาจากอาหาร
FOODBORNE AMR RISK ASSESSMENT
การประเมินความเสี่ยงเชื้อดื้อยาหรือการประเมินความเสี่ยงอันเกิดจากส่วนดื้อยา เป็นการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เช่น การความถี่ของการติดเชื้อ ความล้มเหลวในการรักษา การสูญเสียทางเลือกในการรักษา การเพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้อในรูปของระยะเวลาป่วยนานขึ้น การเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลและอัตราการตายที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น อันเกิดเนื่องจากการได้รับจุลินทรีย์และส่วนดื้อยาที่ปนเปื้อนอาหาร
กระบวนการประเมินความเสี่ยงดื้อยาจากอาหาร ในเชิงการเปรียบเทียบแล้ว จึงเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร โดยที่ขั้นตอนการประเมินการสัมผัส (exposure assessment) จะไม่เพียงแต่มุ่งที่จำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนอาหารเท่านั้น แต่มุ่งที่จำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคที่ดื้อยาด้วย สำหรับขั้นตอนการอธิบายอันตราย (hazard characterization) จะไม่เพียงแต่มุ่งที่การก่อโรคในผู้ป่วยเท่านั้น (disease related to pathogen) แต่มุ่งที่ผลกระทบทางสุขภาพอันเกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพ (adverse health effects related to resistance) เช่น ความล้มเหลวในการรักษา การสูญเสียทางเลือกในการรักษา ระยะเวลาป่วยนานขึ้น การเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลและอัตราการตายที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
1.Hazard identification
1.ระบุอันตราย คือ จุลินทรีย์และส่วนดื้อยา (AMR microorganism and determinant)
2.หาข้อมูลของจุลินทรีย์และส่วนดื้อยา (AMR microorganism and determinant)
3.การใช้ยาต้านจุลชีพ
2.Exposure assessment
กระบวนการประเมินโอกาสในการสัมผัสกับจุลินทรีย์และส่วนดื้อยา (AMR microorganism and determinant) โดยพิจารณาแบ่งเป็น 2 ส่วนในห่วงโซ่การผลิตอาหาร คือ
1.การผลิตสัตว์ หรือ Preharvest คือ การประมาณความน่าจะเป็นจากการใช้ยาต้านจุลชีพต่อความชุกของจุลินทรีย์และส่วนดื้อยาในการผลิตสัตว์
2.การผลิตอาหาร หรือ Postharvest คือ การประมาณความน่าจะเป็นและความชุกของจุลินทรีย์และส่วนดื้อยาปนเปื้อนอาหาร ณ จุดบริโภค
3.Hazard characterization
กระบวนการเชื่อมโยงความน่าจะเป็นและความชุกของจุลินทรีย์และส่วนดื้อยาปนเปื้อนอาหาร ณ จุดบริโภคจากขั้นตอนการประเมินการสัมผัสเป็นผลกระทบทางสุขภาพ เช่น การความถี่ของการติดเชื้อ ความล้มเหลวในการรักษา การสูญเสียทางเลือกในการรักษา การเพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้อในรูปของระยะเวลาป่วยนานขึ้น การเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลและอัตราการตายที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น โดยอาศัยแบบจำลองหรือสมการความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่ดื้อยาและความเจ็บป่วยจากการดื้อยา (Dose‑response assessment model)
4.Risk characterization
เป็นการพิจารณาผลที่ได้จากทั้ง exposure assessment และ hazard characterization วิเคราะห์ด้วย uncertainty และ variability ในรูปแบบของความเสี่ยง เช่น จำนวนผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่เกิดจจากจุลินทรีย์หรือส่วนดื้อยาต่อปี เป็นต้น ถ้าหากเป็นการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและการใช้แบบจำลองร่วมด้วย ก็จะสามารถใช้การวิเคราะห์ความไว (sensitivity analysis) เชื่อมโยงกับทางเลือกการจัดการความเสี่ยงได้ด้วย
FOODBORNE AMR RISK MANAGEMENT
Identification of foodborne AMR RMOs
Evaluation of foodborne AMR RMOs
ประเมินความสามารถของ RMOs ในการลดระดับความเสี่ยงให้สอดคล้องกับ Appropriate level of SPS Protection (ALOP)
Selection of foodborne AMR RMOs
เลือก RMOs ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้สอดคล้องกับ ALOP
Implementation of foodborne AMR risk management decision(s)
Monitoring and review of foodborne AMR risk management measures
SURVEILLANCE OF USE OF ANTIMICROBIAL AGENTS AND AMR MICROORGANISMS AND DETERMINANTS
1.ได้ข้อมูลที่เป็น baseline ของประเทศ
2.หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารต้านจุลชีพและความชุกของจุลินทรีย์และส่วนดื้อยา
3.เป็นวิธีที่ใช้และยอมรับระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ เช่น antimicrobial susceptibility testing method
FOODBORNE AMR RISK COMMUNICATION
Foodborne Risk Communication as a Risk Management Tool
===============================