การประชุมโต๊ะกลม
เรื่อง
“สถานภาพและทิศทางงานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยง
ทางจุลชีววิทยาและเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร”
วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2552 ระหว่างเวลา 9.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม B-513 ชั้น 5 อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นสินค้าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ ทั้งบริบทของการสร้างรายได้ในมุมของการจ้างงานและการส่งออก และบริบทด้านความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชน ในสองสามปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมี GDP ที่ได้จากมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารประมาณ 10-13% และประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารลำดับต้นๆของโลก โดยมีสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกที่สำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ ผักและผลไม้เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งได้พัฒนาศักยภาพการผลิตและต้นทุนที่ต่ำกว่าและปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก ซี่งเป็นผลทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลง เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถยืนหยัดอยู่ในเวทีการค้าผลิตภัณฑ์อาหารได้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตได้ต้องมีคุณภาพที่สูง ปลอดภัย และได้มาตรฐานสุขอนามัย และวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพอาหารให้มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานที่ยอมรับได้เป็นสากลนั้น คืองานวิจัยที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety) และความสามารถในการจัดทำการประเมินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยปัญหาที่สำคัญของความปลอดภัยในอาหารคืออันตรายทั้งทางจุลชีววิทยาและทางเคมี ยกตัวอย่าง เช่น การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดต่างๆ เช่น Salmonella spp. Vibrio parahaemolyticus รวมถึงอันตรายจากสารปฏิชีวนะตกค้าง สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซิน และสารเคมีอื่นๆในผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างไรก็ตามพบว่าที่ผ่านมางานวิจัยทางด้านการประเมินความเสี่ยงนี้ ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก รวมถึงอาจยังไม่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอีกด้วย
ดังนั้น การจัดประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึง ทิศทางและโจทย์วิจัยที่ชัดเจนทางด้านการประเมินความเสี่ยงทั้งทางจุลชีววิทยาและเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของสำนักงานฯ ซึ่งจะนำไปสู่งานวิจัยและองค์ความรู้ที่ครอบคลุมมากขึ้น อันเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานอาหารของประเทศไทยและส่งเสริมความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย
กำหนดการ
9.00 – 9.10 กล่าวเปิดประชุม
โดย ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ
ประธานคลัสเตอร์อาหารและการเกษตร
9.10 – 9.25 สถานภาพความเสี่ยงทางจุลชีววิทยาและเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร
(Microbial and Chemical Risk Profile in Food Products)
โดย นายพิศาล พงศาพิชณ์
สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
9.25 – 9.40 สถานภาพผลงานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยาในผลิตภัณฑ์อาหาร
โดย ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9.40 – 9.55 สถานภาพผลงานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร
โดยน.สพ.ดร.ปิยวัฒน์ สายพันธุ์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
9.55 – 12.00 ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการวิจัยและโจทย์วิจัยทางด้าน
การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยาและเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร
12.00 – 13.00 ปิดประชุมและรับประทานอาหารกลางวัน
ตัวอย่างภาพจากงานประชุมโต๊ะกลม ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมประชุม
ภาพที่ 1 คุณพิศาล พงศาพิชณ์ จาก สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ บรรยายเรื่อง "สถานภาพความเสี่ยงทางจุลชีววิทยาและเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร" (Microbial and Chemical Risk Profile in Food Products)
ภาพที่ 2 ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่องเกี่ยวกับ สถานภาพงานวิจัยการประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์อาหาร
ภาพที่ 3-4 บรรยากาศการบรรยายในระหว่างการประชุม