ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Log in
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
ฟรี...ประเมินความเสี่ยง เลือกจากรายการด้านล่าง
dot
dot
Food Safety Risk
dot
bulletรายงานประเมินความเสี่ยง (ตัวอย่าง)
bulletคำแนะนำการกรอกแบบฟอร์ม
bulletกรอกแบบฟอร์ม
dot
Disease Risk
dot
bulletรายงานประเมินความเสี่ยง (ตัวอย่าง)
bulletคำแนะนำการกรอกแบบฟอร์ม
bulletกรอกแบบฟอร์ม
dot
ลงทะเบียนรับข่าวสาร

dot
dot
Search ในบทความ

dot
สมาชิกที่กำลัง login
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
ขอต้อนรับสมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
Advertising
dot
bulletContact info.
dot
Sponsor
dot
bulletIntelnovation Company Limited




โครงการวิจัยร่วมกระทรวงสาธารณสุข
 

การอธิบายอันตรายของ Salmonella spp.
และ
Vibrio parahaemolyticus

 
ชื่อหัวหน้าโครงการ     ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย  เนื้อนวลสุวรรณ
ตำแหน่ง                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8
หน่วยงานต้นสังกัด     คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ติดต่อ           คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                             ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์                 0-2218-9577-8 หรือ 089-204-5447
โทรสาร                   0-2218-9577
อีเมล์                       suphachai.n@chula.ac.th
 
ผู้ร่วมโครงการวิจัย
ชื่อ                         นางสุวรรณา เทพสุนทร   
ตำแหน่ง                  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ           สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค   กระทรวงสาธารณสุข
โทรศัพท์                 02-590-1775
โทรสาร                  02-590-1484
อีเมล์                      tsuwan1@hotmail.com
 
ชื่อ                         น.สพ. ชัยวัฒน์ พูลศรีกาญจน์
ตำแหน่ง                  นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ           
สถานที่ติดต่อ           WHO National Salmonella and Shigella Center
                             สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   กระทรวงสาธารณสุข
โทรศัพท์                 0-2-591 – 0203 – 4 ต่อ 99440, 99250
โทรสาร                  0-2-591-5449
อีเมล์                      chaiwat.p@dmsc.mail.go.th

เอกสารและแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

1. ใบกำกับตัวอย่าง   Download แบบฟอร์ม  Word format  หรือ PDF format 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. การเก็บตัวอย่างอาหาร Download แบบฟอร์ม  Word format  หรือ PDF format 

การเก็บตัวอย่างในอาหาร
1. เกณฑ์ในการเก็บตัวอย่าง
1.1 ในกรณีที่มีการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียในพื้นที่
1.2 ให้เก็บอาหารและน้ำทุกชนิดที่เหลือจากการรับประทานในเหตุการณ์การระบาดครั้งนั้น
2. การเก็บตัวอย่าง
          2.1 ข้อบ่งชี้การตรวจ
ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารเป็นพิษที่ตรวจวิเคราะห์ได้แก่ Salmonella spp., Shigella spp.,และ Vibrio spp. ในตัวอย่างจากอาหาร และน้ำทุกชนิด เพื่อประกอบการประเมินความเสี่ยงของเชื้อจุลชีพเชิงปริมาณ (Microbial Risk Assessment)
          2.2 การเตรียมตัวอย่าง เก็บตัวอย่างด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
-          ตัวอย่างอาหารที่ดีต้องมีไม่น้อยกว่า 500 กรัม แม้ตัวอย่างจะเหลือเพียงเล็กน้อยก็ให้เก็บด้วย
-          ตัวอย่างอาหารที่ดีไม่ควรบูด เน่า หรือเสีย  แม้ตัวอย่างจะมีปัญหาบ้างก็ให้เก็บด้วย
          2.3 สิ่งส่งตรวจ ปริมาณ ภาชนะที่เหมาะสม และวิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง
 
สิ่งส่งตรวจ
ปริมาณ
ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่าง
หมายเหตุ
อาหาร
³ 500 กรัม
ถุงซิปพลาสติกใหม่
สวมถุงมือก่อนหยิบอาหารใส่ถุงซิป เก็บตัวอย่างปริมาณไม่น้อยกว่า 500 กรัม ปิดฉลากหรือเขียนหมายเลขบนถุงทุกครั้งด้วยปากกาชนิด permanent
น้ำ
 1 ลิตร
ขวดสะอาดปราศจากเชื้อ
เก็บจากแหล่งน้ำที่สงสัยว่าเป็นแหล่งนำโรคปิดฝาจุกให้สนิท ปิดฉลากหรือเขียนหมายเลข แหล่งน้ำ วันเวลาที่เก็บ บนถุงทุกครั้งด้วยปากกาชนิด permanent  
 
 
 
 

2.4 วิธีการนำส่งตัวอย่าง
          2.4.1 ตัวอย่างที่เก็บในภาชนะต้องนำส่งภายใน 2 ชั่วโมง กรณีนานกว่า 2 ชั่วโมงให้เก็บในที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และนำส่งภายใน 24 ชั่วโมง
         2.4.2 ตัวอย่างอาหารให้ใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบรรจุในกระติกหรือกล่องโฟมที่มีน้ำแข็ง เพื่อป้องกันการไหลซึมของของเหลวในกรณีที่ภาชนะแตก
         2.4.3 กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม “ใบกำกับตัวอย่างอาหาร” ให้ครบถ้วน
          2.4.4 การส่งตัวอย่าง
          - ในกรณีต่างจังหวัดให้ส่งทางรถโดยสารปรับอากาศ โดยระบุชื่อหน่วยงานที่ส่ง วัน เดือน ปี ที่เก็บตัวอย่าง และระบุชื่อผู้รับ ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ อาคาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรติดต่อ 089-2045447 หรือ 02-2189577-8  60 ปี
           -ในกรณีจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานครให้ส่งไปที่ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ อาคาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  60 ปี
         2.4.5 แจ้งวัน เวลาที่ตัวอย่างจะถึงปลายทางให้ ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ อาคาร60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทราบทางโทรศัพท์ 02-2189577-8 หรือ 089-2045447  ในกรณีวันเสาร์-อาทิตย์ หรือ วันหยุดราชการ ให้แจ้ง ผศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ทราบทางโทรศัพท์ 089-2045447 เพื่อประสานการรอรับตัวอย่างต่อไป
          2.4.6 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ  ขอให้ประสานงานกับคุณสุวรรณา
 
3. ข้อห้ามและข้อควรระวัง
3.1 กรณีเก็บตัวอย่างอาหารได้น้อยกว่า 500 กรัม ให้ระบุในใบนำส่งตัวอย่าง
3.2 ใบกำกับตัวอย่างอาหาร ต้องแยกออกจากตัวอย่าง  ห้ามใส่รวมกับตัวอย่าง
4. เอกสารอ้างอิง
1. Miller JM and Holmes HT. Specimen collection, transport, and storage In : Murray. R.P., Baron Jo.E, Pfaller A.M, Tenover C.F, and Yolken H.R. Eds. Manual of clinical microbiology. 6th ed. ASM Press WashingtonD.C. 1995 : 19-22.
2. Sonnenwirth AC. Collection and culture of specimens and guides for bacterial identification. In : Sonnenwirth AC and Jarett L. Eds. Gradwohl’s clinical laboratory methods and diagnosis. vol.2, 8th ed. The C.V. Mosby Company, USA, 1980 : 1554-1560.
3. World Health Organization. Guideline for cholera control. Revised 1993 : 50-55.
 
พื้นฐานแนวคิดของโครงการฯ

          ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหาร ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลด้วย นอกจากการผลิตอาหารในเชิงปริมาณแล้ว ปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ซึ่งการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) จัดเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาระบบความปลอดภัยของอาหาร การประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การระบุอันตราย (hazard identification)  เป็นการทบทวนและยืนยันการเจ็บป่วยจริงที่เกิดจากอันตรายที่สนใจ การประเมินการสัมผัส (exposure assessment) เป็นการประเมินโอกาสในการสัมผัสกับอันตรายหรือจุลินทรีย์ก่อโรค   การอธิบายอันตราย (hazard characterization) เป็นการประเมินโอกาสในการเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการสัมผัสกับจุลินทรีย์ก่อโรค และ การอธิบายความเสี่ยง (risk characterization) เป็นการประเมินโอกาสในการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก่อโรค ข้อจำกัดหรืออุปสรรคสำคัญสำหรับประเทศไทย คือ การขาดข้อมูลในด้านการอธิบายอันตราย เนื่องจาก การเก็บข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นเชิงคุณภาพ (qualitative) กล่าวคือ เป็นการตรวจวิเคราะห์ชนิดของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการระบาดโรคอาหารเป็นพิษเท่านั้น ในขณะที่การประเมินความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอน การอธิบายอันตราย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative) หรือ การตรวจวิเคราะห์หาระดับความเข้มข้น (concentration) ของการจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอาหาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบจำลองการตอบสนองต่อปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่ได้รับ (Dose‑response model)    

          แม้ว่าการอธิบายอันตรายจะสามารถใช้ข้อมูลจากต่างประเทศได้ แต่ย่อมขาดความถูกต้องและแม่นยำในการสรุปผลและการนำไปใช้   เนื่องจาก ระดับภูมิคุ้มโรคของประชากรแต่ละชาติมีความแตกต่างกัน ดังนั้น โครงการวิจัยจึงเน้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ และก่อให้เกิดผลกระทบในระบบการสร้างความปลอดภัยของอาหาร ด้วยการประสานงานการเก็บตัวอย่างอาหารและการสืบสวนสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ  ตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารในเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่สอดคล้องกับสัดส่วนผู้ป่วยในการระบาด (attack rate) เพื่อใช้ในการสร้าง Dose-response model  ในขั้นตอนการอธิบายอันตรายของการประเมินความเสี่ยง  นอกจากนี้ Dose‑response model ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐานอาหารทางจุลินทรีย์ (microbiological limit) ผลการประสานงานกับหน่วยงานทำให้ได้สร้างบุคลากรทางความปลอดภัยของอาหารที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดเครือข่ายการเก็บข้อมูลสำหรับการอธิบายอันตรายจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิดอื่นๆ ได้ด้วย โครงการนี้ยังทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงอาหารทางจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษที่มีความถูกต้องและจำเพาะสำหรับประชากรไทย และประเมินความเสี่ยงอาหารสำหรับการส่งออก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรส่งออกในเชิงมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่สูงขึ้นและเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย
 
All right reserved.   เอกสารหรือเนื้อหานี้ใข้เพื่อการเรียนการสอน การอบรมหรือการวิจัยเท่านั้น และเป็นทรัพสินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว  ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พศ. 2542 และ ความตกลงทริปส์ภายใต้การเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก  ผู้ที่ละเมิดจะได้รับการดำเนินคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.