ข้อมูลที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการประเมินความเสี่ยง มี 3 ส่วน คือ
1.ความชุกของจุลินทรีย์ในอาหาร (Prevalence)
- ผู้ขอรับการประเมินความเสี่ยงไม่ต้องวิเคราะห์ส่วนนี้
- ผู้ประเมินความเสี่ยงจะวิเคราะความชุกจากจำนวนตัวอย่างที่ตรวจและจำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวก
2.ความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอาหาร (Concentration)
3.ปริมาณการบริโภค (Consumption)
ผู้ขอรับการประเมินความเสี่ยง ควรจัดเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการกรอกแบบฟอร์มขอรับการประเมินความเสี่ยง
1.จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ
2.จำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวก
3.ค่าเฉลี่ยความเข้มข้น
- ผู้ขอรับการประเมินนำค่าความเข้มข้นของจุลินทรีย์เฉพาะที่ให้ผลบวกเท่านั้น นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย หน่วยเป็น log cfu/g หรือ log MPN/g ก็ได้
4.ปริมาณการบริโภค
- ผู้ขอรับการประเมินสามารถค้นหาปริมาณการบริโภคของคนไทยได้จาก 2 แหล่ง คือ ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย ที่จัดพิมพ์โดย มกอช. หรือ การค้นหาจาก website ที่กำลังพัฒนาโดย มกอช.