การประเมินความเสี่ยงนำเข้า (Import risk assessment)
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.การประเมินการขับ (Release assessment) ใช้ข้อมูลประเทศส่งออก
2.การประเมินการสัมผัส (Exposure assessment) ใช้ข้อมูลประเทศนำเข้า
3.การประเมินผลกระทบ (Consequence assessment) ใช้ข้อมูลประเทศนำเข้า
4.การประมาณความเสี่ยง (Risk estimation) บูรณาการข้อมูลจาก 3 ขั้นตอนแรก
การประเมินความเสี่ยงตามแนวทางของ OIE ได้แนะนำว่า หากผลการประเมินความน่าจะเป็นในขั้นตอนแรก อยู่ในระดับที่ ละเลยได้ (Negligible) หรือ เทียบเท่ากับ ต่ำกว่า 10-6 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยงในขั้นตอนที่เหลือต่อไป สามารถสรุปจบได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความยุ่งยากทั้งในการเก็บข้อมูลและขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยง ประเทศไทยในฐานะประเทศส่งออกมีข้อมูลอยู่ สามารถดำเนินการประเมินการขับได้ ในขณะเดียวกัน ควรจะต้องผลิตสินค้าส่งออกให้ผลการประเมินการขับได้ตามระดับความน่าจะเป็นที่ละเลยได้ ซึ่งทำให้สามารถสิ้นสุดการประเมินความเสี่ยงได้ในประเทศไทยเอง ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลจากต่างประเทศแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ผู้ประกอบการต้องตรวจและวิเคราะห์เพื่อขอรับการประเมินความเสี่ยงนำเข้า
การขับที่ 1 : การติดโรคของฝูงสัตว์ (R1 : Selection of flock) หรือ ความชุกฝูง (flock prevalence)
การขับที่ 2 : การเฝ้าระวังโรคในฝูงสัตว์ (R2 : Surveillance of flock)
การขับที่ 3 : การเลือกไก่ที่ติดโรคจากฝูงสัตว์ที่ติดโรค (R3 : Selection of individual) หรือ ความชุกในฝูง (within‑flock prevalence)
การขับที่ 4 : การปนเปื้อนสาเหตุโรคจากซากที่ติดโรค (R4 : Background contamination rate)
การขับที่ 5.1 และ 5.2: การปนเปื้อนของซากไก่ปลอดโรคจากฝูงไก่ติดโรคและปลอดโรคในโรงเชือด (R5.1 และ R5.2 : Slaughter and processing)
การขับที่ 6 และ การขับที่ 7 : การแยกซากไก่ติดโรคและการแยกซากไก่ปลอดโรคออกก่อนเข้าเชือดและระหว่างเชือด (R6 และ R7 : Inspection – Ante‑mortem and Postmortem)